ไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก จัดเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกิ ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ และสามารถแพร่ได้โดยมียุงลายเป็นพาหะ หากเป็นไข้เลือดออกจะมีอาการไข้สูง มีเลือดออก หากไม่ได้รับการรักษาโรคไข้เลือดออกอย่างทันท่วงทีก็อาจทำให้เกิดภาวะช็อคทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จึงต้องมีการติดตาม เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของโรคไข้เลือดออกอย่างใกล้ชิด และให้การรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม ในบทความนี้จะมาพูดถึงเรื่องที่กระทรวงสาธารณสุขได้เน้นย้ำโรงพยาบาลและผู้ป่วยไข้เลือดออกห้ามกินยากลุ่มเอ็นเสดเพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อผู้ป่วยไข้เลือดออกได้

ไข้เลือดออก

สถานการณ์ไข้เลือดออกครึ่งปี 2566

กระทรวงสาธารณสุขกำชับโรงพยาบาลเลี่ยงสั่งจ่ายยา “กลุ่มเอ็นเสด” ในผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีอาการไข้ ห่วงเพิ่มความเสี่ยงผู้ป่วยไข้เลือดออกเสียเลือดจนช็อกและเสียชีวิต ส่วนประกาศพื้นที่ระบาดเป็นการพิจารณาของแต่ละพื้นที่ หากพบผู้ป่วยไข้เลือดออกมากทรัพยากรไม่พอควบคุมโรค

วันที่ 27 ก.ค.2566 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกขณะนี้มีผู้ป่วยมากกว่า 40,000 คน เสียชีวิต 40 กว่าคน เป็นกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปมากกว่าเด็กเล็ก โดยพบว่าผู้เสียชีวิตจากไข้เลือดออกประมาณ 10% มีการกินยาแอสไพรินหรือยาลดไข้แก้ปวดกลุ่มเอ็นเสด เช่น ไอบูโพรเฟน เป็นต้น ซึ่งทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ เพิ่มความเสี่ยงให้เลือดออกง่ายจนช็อกและเสียชีวิต

ดังนั้น หากมีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดจุกแน่นในท้อง ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้นของโรคไข้เลือดออก ที่วินิจฉัยแยกจากโรคอื่นที่ได้ยาก เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ หรือโรคฉี่หนู ขอให้ระมัดระวังไม่ซื้อยาเหล่านี้มารับประทาน ทั้งนี้ ได้กำชับโรงพยาบาลและบุคลากรแล้วว่าหากผู้ป่วยไข้เลือดออกมีไข้และยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ให้หลีกเลี่ยงการจ่ายยากลุ่มเอ็นเสด และหากอาการยังไม่ดีขึ้นขอให้กลับไปพบแพทย์อีกครั้ง

นพ.โอภาส กล่าวว่า สำหรับการประกาศพื้นที่ระบาดโรคไข้เลือดออกหรือโรคอื่นใด หากพื้นที่เห็นว่าการระบาดมากจนทรัพยากรในจังหวัดหรือพื้นที่นั้นไม่เพียงพอรับสถานการณ์ เช่น ขาดงบประมาณ ขาดยา ขาดบุคลากร หรือจำเป็นต้องใช้งบประมาณพิเศษ หรือต้องมีการบูรณาการพิเศษ ก็ให้เสนอเรื่องถึงอธิบดีกรมควบคุมโรคพิจารณา โดยใช้กลไกคณะกรรมการวิชาการออกประกาศ ซึ่งสามารถประกาศระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือทั้งจังหวัดก็ได้ เพื่อให้มีอำนาจในการดำเนินการควบคุมโรคมากขึ้น

รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถใช้งบประมาณ ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ เนื่องจากโรคระบาดในคนถือเป็นสาธารณภัยรูปแบบหนึ่ง

อาการเสี่ยงป่วยไข้เลือดออก

อธิบดีกรมควบคุมโรคขอให้สังเกตอาการป่วยไข้เลือดออกของตนเองและคนในครอบครัว หากพบมีไข้สูงเฉียบพลัน และสูงมากกว่า 2 วัน ให้สงสัยว่าอาจเป็นโรคไข้เลือดออก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกทันที และห้ามซื้อยากินเอง โดยเฉพาะยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโครฟิแนค แอสไพริน รวมถึงยาชุดแก้ปวด ซึ่งมีผลทำให้เลือดออกในช่องทางเดินอาหารและยากต่อการรักษา เสี่ยงต่อการเสียชีวิต

นอกจากนี้ควรป้องกันโรคไข้เลือดออกจากการถูกยุงกัด เช่น ทายากันยุงหรือนอนในมุ้ง กำจัดแหล่งวางไข่ยุงลายภายในบ้านและบริเวณรอบๆ บ้าน ยึดหลัก “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค ได้แก่ เก็บบ้านให้สะอาด ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง, เก็บน้ำ โดยปิดฝาภาชนะที่ใส่น้ำให้มิดชิด เปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์พร้อมขัดขอบภาชนะเพื่อกำจัดไข่ยุงลาย และเก็บขยะบริเวณรอบบ้าน ปรับปรุงสภาพแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดนี้จะสามารถป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายได้ทั้ง 3 โรค คือ โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวอีกว่า ช่วงที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพิ่มกลยุทธ์เพื่อควบคุมจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในประเทศ เน้นรณรงค์ป้องกันก่อนเกิดโรคไข้เลือดออก โดยเริ่มต้นจากการดูแลตนเอง อีกทั้งผนึกกำลังภาคีรัฐและเอกชนชูนวัตกรรมเพื่อสร้างความร่วมมือป้องกันการเสียชีวิตจากไข้เลือดออกขณะที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รณรงค์สร้างความตระหนักรู้ให้กับชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะเด็กวัยเรียนที่เป็นกลุ่มป่วยไข้เลือดออกสูงสุด

นอกจากนี้ การวินิจฉัยที่รวดเร็วยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ซึ่งปัจจุบันมีการใช้ชุดตรวจโรคไข้เลือดออกชนิดรวดเร็ว (Dengue Rapid Diagnosis Test) ทำให้วินิจฉัยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้เร็วขึ้น

ป่วยไข้เลือดออกห้ามซื้อยาในกลุ่มเอ็นเสดกินเอง

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ยุงในประเทศไทยมีหลายชนิด ชนิดที่พบเป็นพาหะนำโรค ได้แก่ ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ยุงก้นปล่องพาหะนำโรคไข้มาลาเรีย ยุงเสือพาหะนำโรคเท้าช้าง และยุงรำคาญ พาหะนำโรคไข้สมองอักเสบ และโรคเท้าช้างบางประเภท ซึ่งยุงพาหะแต่ละชนิดมีชีวนิสัยและแหล่งเพาะพันธุ์ที่แตกต่างกัน วงจรชีวิตของยุงจะมี 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ลูกน้ำ ตัวโม่ง และตัวเต็มวัย โดยระยะตัวเต็มวัยเพศเมียเป็นระยะที่กินเลือด เพื่อใช้ในการพัฒนาไข่ของยุงจึงทำให้เกิดการแพร่โรคไข้เลือดออกติดต่อนำโดยยุงได้

สำหรับการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จ จะต้องมีมาตรการทั้งในมิติของคน เชื้อโรค ยุงพาหะ และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยใช้หลายๆ วิธีการร่วมกัน เช่น การลดแหล่งเพาะพันธุ์ โดยการจัดการสิ่งแวดล้อม การป้องกันไม่ให้ยุงกัด การใช้สารเคมีในการกำจัดยุง โดยเฉพาะในกรณีเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก และหากมีอาการป่วยหรือสงสัยว่าป่วยด้วยโรคติดต่อนำโดยยุงต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่ซื้อยากินเองโดยเฉพาะยาในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน ไดโครฟีแนก แอสไพริน รวมถึงยาชุด ซึ่งมีผลทำให้เลือดออกในทางเดินอาหารได้ง่าย ยากต่อการรักษาโรคไข้เลือดออกทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

กำจัดยุงถูกวิธีเลี่ยงใช้สารเคมีโดยไม่จำเป็น

พญ.ฉันทนา ผดุงทศ ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อนำโดยแมลง กล่าวว่า การใช้สารเคมีในการป้องกันควบคุมยุงพาหะนำโรค เช่น การพ่นสารเคมีเพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัย มีความจำเป็นในการหยุดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้กระจายเป็นวงกว้าง และเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงมีเชื้อไปกัดและแพร่โรคให้คนอื่นต่อไป ซึ่งการพ่นสารเคมี ต้องดำเนินการให้ถูกต้อง ทันท่วงที และได้มาตรฐาน ในขอบเขตการระบาดของโรค

ต้องทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำเพื่อป้องกันยุงตัวใหม่เกิดขึ้น โดยการพ่นนั้นต้องเลือกใช้สารเคมีและความเข้มข้นตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ และได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่พ่นบ่อยครั้งโดยไม่จำเป็น เพื่อป้องกันการดื้อของยุงต่อสารเคมี ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการควบคุมโรคไข้เลือดออกในอนาคต

สารเคมีพ่นกำจัดยุงลายบ้านมีประสิทธิภาพ

จากกระแสข่าวที่มีนักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นนำเสนอรายงานวิจัยว่ายุงในพื้นที่ประเทศเวียดนาม และกัมพูชา มีการดื้อต่อสารเคมีในกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethroid) นั้น เป็นการศึกษาเพื่อเป็นการเตือนให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชีย ตระหนักในการติดตามเฝ้าระวังยุงในพื้นที่ว่ามีการดื้อต่อสารเคมีหรือไม่ และเสนอให้มีการสลับสับเปลี่ยนสารเคมีกำจัดแมลงในการควบคุมยุง

ในส่วนกองโรคติดต่อนำโดยแมลงได้ศึกษาประสิทธิภาพของสารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์ ที่ใช้ในการกำจัดยุงลายบ้านด้วยวิธีการพ่นหมอกควันและพ่น ULV จำนวน 12 พื้นที่ ได้แก่ จ.เชียงใหม่ ตาก พิจิตร นครปฐม ฉะเชิงเทรา มหาสารคาม อุดรธานี นครราชสีมา อุบลราชธานี พังงา สงขลา และกรุงเทพมหานคร พบว่า สารเคมียังมีประสิทธิภาพในการควบคุมยุงลายบ้านได้ดี สามารถฆ่ายุงลายบ้านได้มากกว่า 90%

ทั้งนี้ ประเทศไทยได้แนะนำให้ใช้สารเคมีกำจัดแมลงสูตรผสมและใช้ความเข้มข้นตามมาตรฐาน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดยุงเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อยู่แล้ว หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

ไข้เลือดออก

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับข่าวสังคม

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวสังคมได้ที่ needlezbyshalimar.com

สนับสนุนโดย  ufabet369